วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

วัวเทียมเกวียน
               กีฬาวัวเทียมเกวียนของชาวอำเภอบ้านลาด เริ่มมาจากสิ้นสุดฤดูการทำนาแล้วจึงได้เอาเกวียนที่ไม่ได้ใช้งานมาวิ่งแข่งขัน ซึ่งในปัจจุบันเรียกหมู่บ้านที่เคยเป็นลาน แข่งขันว่า " หัวสนาม " บ้าง " ท้ายสนาม " " ต้นสนาม " เป็นต้น การแข่งขันจะผลัดเปลี่ยนกันไป ในแต่ละท้องที่ ทำนองเอาแขกตอบแทนที่เคยมาร่วมให้ความสนุกครึกครื้น การแข่งขันจะเริ่มช่วงเวลาแดดร่มลมตก พอพลบค่ำก็เลิก ส่วนมากมักนำเกวียนเก่าที่เลิกใช้งานแล้วมาดัดแปลงเพื่อการแข่งขันโดยใช้วัวเทียมเกวียนเล่มๆ 2 ตัว การแข่งขันจะจับกันเป็นคู่แข่งขันกัน โดยใช้ระยะทางวิ่งทางตรงประมาณ 100 เมตร ( วิ่งจริง 62 เมตร ) ครึ่งหนึ่งของทางวิ่งจะต้องจัดทำรั้วเตี้ยๆ กันไม่ให้วัววิ่งออกนอกลู่ ส่วนมากรั้วจะใช้ทางตาลปักห่างๆ เป็นแนว 2 ข้างทางวิ่ง
               การปล่อยวัวมีเส้นเริ่มเรียกว่า ผัง มีนายสนามเป็นผู้ดูแล ถ้าให้สัญญาณแล้วเกวียนแต่ละเล่มออกไม่พร้อมกัน ให้เริ่มใหม่ และถ้าเกวียนวิ่งออกนอกลู่ ซึ่งเรียกว่า เสียสนาม ก็ให้เริ่มต้นใหม่เช่นกัน การแข่งขันนอกจากวัวจะวิ่งเร็วแล้ว คนบังคับวัวที่คอยลง ปะฏักก็สำคัญ เพราะเป็นการกระตุ้นให้วัววิ่งสุดกำลังจนถึงเส้นชัย การเลือกบ่าวัว ( วัวบางตัวถนัดบ่าซ้าย หรือบ่าขวาไม่เหมือนกัน ) เลือกคนแทงวัว ( คนแทงวัวทำหน้าที่เหมือนจ้อกกี้ลงแซ่แข่งม้า ) การแพ้ชนะจะเป็นไปตามกติกาที่ตกลงกัน กรณีชนะต้องชนะแบบขาดลำ ถ้าคู่คี่ หรือเกวียนสะกันอยู่ และถูกอีกฝ่ายหนึ่ง ลางจนถึงเส้นชัย( เรียกว่าเฉียบ ) ไม่ถือเป็นการชนะ สำหรับคนแทงปฏักวัว หรือแทงวัว เจ้าของวัวต้องหามาเอง จำเป็นจะต้องหาคนที่ ชำนาญเพราะจะต้องกระตุ้นให้วัววิ่งสุดกำลังไปยังเส้นชัย การเล่นวัวเทียมเกวียนอาจมีการเดิมพันอยู่บ้าง ระหว่างเจ้าของวัว กับคนดู แต่มีการได้เสียกันเพียงเล็กน้อย เช่า เดิมพันด้วยสุรา สอง สามขวด ความสนุกสนานจึงอยู่ที่วิถีชีวิตที่เป็นลูกทุ่ง ใกล้ชิดกับวัว สามารถบังคับวัวในการทำงาน และการแข่งขัน
www.phetchaburi.doae.go.th/pb2013/introduction/intro12.htm‎l

 ประเพณีชักพระ บางท้องถิ่นเรียกว่า "ประเพณีลากพระ " เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัย
ศรีวิชัย โดยสันนิษฐานว่าได้เกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย มีพุทธตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ 7
พรรษา และ พรรษาที่ 7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับ
มายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3
เดือน ครั้นทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไป
ถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญ
ประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก
ใบลาน ใบตาล ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น

www.stou.ac.th/study/sumrit/3-56(500)/page4-3-56(500).html


ประเพณีแข่งเรือ เป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทย เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น
ประเพณีแข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ เป็นกรใช้ฝีปากไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั่วหน้า
เรือแข่งที่แถบชาวบ้านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใช้แข่ง เรียกเรือยาว ซึ่งทำจากท่อนซุงทั้งต้น การต่อเรือยาวต้องใช้ความรู้ ความชำนาญมาก จึงจะได้เรือที่สวยและแล่นได้เร็วเวลาพาย
ปัจจุบันประเพณีการแข่งเรือยังมีเหลืออยู่บ้างไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเพลงเห่เรือของฝีพายและของชาวบ้าน กลับได้ยินเพลงลูกทุ่งแทน เพราะขาดผู้รู้คุณค่าและความสนใจที่จะรักษาไว้ จึงไม่ได้สนับสนุนผู้มีความรู้ความสามารถในการเห่เรือ ให้สืบทอดประเพณีนี้ต่อมา เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานราชการ และเอกชนบางแห่ง เล็งเห็นคุณค่าของประเพณีแข่งเรือ จึงได้จัดให้มีการแข่งเรือขึ้นในหลายๆท้องถิ่นที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งประสบผลสำเร็จ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมากมาย

th.wikipedia.org/wiki/การแข่งเรือ