วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

วัวเทียมเกวียน
               กีฬาวัวเทียมเกวียนของชาวอำเภอบ้านลาด เริ่มมาจากสิ้นสุดฤดูการทำนาแล้วจึงได้เอาเกวียนที่ไม่ได้ใช้งานมาวิ่งแข่งขัน ซึ่งในปัจจุบันเรียกหมู่บ้านที่เคยเป็นลาน แข่งขันว่า " หัวสนาม " บ้าง " ท้ายสนาม " " ต้นสนาม " เป็นต้น การแข่งขันจะผลัดเปลี่ยนกันไป ในแต่ละท้องที่ ทำนองเอาแขกตอบแทนที่เคยมาร่วมให้ความสนุกครึกครื้น การแข่งขันจะเริ่มช่วงเวลาแดดร่มลมตก พอพลบค่ำก็เลิก ส่วนมากมักนำเกวียนเก่าที่เลิกใช้งานแล้วมาดัดแปลงเพื่อการแข่งขันโดยใช้วัวเทียมเกวียนเล่มๆ 2 ตัว การแข่งขันจะจับกันเป็นคู่แข่งขันกัน โดยใช้ระยะทางวิ่งทางตรงประมาณ 100 เมตร ( วิ่งจริง 62 เมตร ) ครึ่งหนึ่งของทางวิ่งจะต้องจัดทำรั้วเตี้ยๆ กันไม่ให้วัววิ่งออกนอกลู่ ส่วนมากรั้วจะใช้ทางตาลปักห่างๆ เป็นแนว 2 ข้างทางวิ่ง
               การปล่อยวัวมีเส้นเริ่มเรียกว่า ผัง มีนายสนามเป็นผู้ดูแล ถ้าให้สัญญาณแล้วเกวียนแต่ละเล่มออกไม่พร้อมกัน ให้เริ่มใหม่ และถ้าเกวียนวิ่งออกนอกลู่ ซึ่งเรียกว่า เสียสนาม ก็ให้เริ่มต้นใหม่เช่นกัน การแข่งขันนอกจากวัวจะวิ่งเร็วแล้ว คนบังคับวัวที่คอยลง ปะฏักก็สำคัญ เพราะเป็นการกระตุ้นให้วัววิ่งสุดกำลังจนถึงเส้นชัย การเลือกบ่าวัว ( วัวบางตัวถนัดบ่าซ้าย หรือบ่าขวาไม่เหมือนกัน ) เลือกคนแทงวัว ( คนแทงวัวทำหน้าที่เหมือนจ้อกกี้ลงแซ่แข่งม้า ) การแพ้ชนะจะเป็นไปตามกติกาที่ตกลงกัน กรณีชนะต้องชนะแบบขาดลำ ถ้าคู่คี่ หรือเกวียนสะกันอยู่ และถูกอีกฝ่ายหนึ่ง ลางจนถึงเส้นชัย( เรียกว่าเฉียบ ) ไม่ถือเป็นการชนะ สำหรับคนแทงปฏักวัว หรือแทงวัว เจ้าของวัวต้องหามาเอง จำเป็นจะต้องหาคนที่ ชำนาญเพราะจะต้องกระตุ้นให้วัววิ่งสุดกำลังไปยังเส้นชัย การเล่นวัวเทียมเกวียนอาจมีการเดิมพันอยู่บ้าง ระหว่างเจ้าของวัว กับคนดู แต่มีการได้เสียกันเพียงเล็กน้อย เช่า เดิมพันด้วยสุรา สอง สามขวด ความสนุกสนานจึงอยู่ที่วิถีชีวิตที่เป็นลูกทุ่ง ใกล้ชิดกับวัว สามารถบังคับวัวในการทำงาน และการแข่งขัน
www.phetchaburi.doae.go.th/pb2013/introduction/intro12.htm‎l

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น